วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย

ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศไทย

1. ที่ตั้งตามละติจูด เราอยู่เขตละติจูดที่ใกล้เส้นศูนย์สูตร -> อากาศร้อน
2. ความสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงยิ่งหนาว สูงทุกๆ 180 เมตร อุณหภูมิลดลง 1 องศา เซลเซียส
3. การขวางกั้นของภูเขา ทำให้เกิดเขตเงาฝน (Rain Shadow) บริเวณหลังเขาอากาศจะอบอ้าว
     และแห้งแล้ง
4. ความใกล้ – ไกลทะเล
    - พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล ความแตกต่างระหว่างร้อนกับหนาวมีน้อย (ร้อนก็ร้อนไม่มาก หนาวก็หนาว
      ไม่มาก)
5. ทิศทางของลมประจำ ได้แก่
    - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นำพาความชื้นและฝนมาตก เพราะพัดมาจากมหาสมุทร
      (มหาสมุทรอินเดีย)
     - ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นำพาความหนาวเย็นและแห้งแล้งมาให้ เพราะพัดมาจากแผ่นดิน   
       (จีน)
6. อิทธิพลของพายุหมุน
    - พายุ = ลมที่พัดแรงมาก (แรงกว่าลมมรสุม)
    - พายุหมุน เกิดที่ทะเลจีนใต้ แล้วพัดเข้าสู่ประเทศไทยทางทิศตะวันออก แต่ เจอภาคตะวันออกเฉียง 
      เหนือก่อน (เพราะมีพื้นที่ล้ำออกมาทางตะวันออกที่สุด)
    - พายุหมุนที่แรงที่สุด คือ ไต้ฝุ่น
    - แต่ที่พัดเข้ามาสู่ประเทศไทยบ่อยๆ ลดกำลังเป็นดีเปรสชัน (ซึ่งเป็นพายุหมุนที่เบาที่สุด) เนื่องจาก  
      ผ่านแผ่นดินเวียดนามและลาวก่อนมา เจอไทยไต้ฝุ่น จึงอ่อนกำลังแรงลงเป็นดีเปรสชัน

ปริมาณฝนในประเทศไทย

1. ประเทศไทยมีปริมาณฝนปานกลางถึงค่อนข้างชุก เฉลี่ยทั่วประเทศ 1,550 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนใหญ่เกิดจากอิ่ทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่มีบาง พื้นที่ได้รับอิทธิพลของลมพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ด้วย
2. พื้นที่ของประเทศที่มีฝนตกมากที่สุด คือ
    2.1 ชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ (ด้านทะเลอันดามัน) บริเวณด้านหน้าของเทือกเขาภูเก็ต โดยเฉพาะพื้นที่ จังหวัดระนอง (สูงสุดเคยวัดได้ 4,320 มิลลิเมตร)
    2.2 ชายฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย บริเวณด้านหน้าของเทือกเขาจันทบุรี และเทือกเขา บรรทัด ในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและตราด สูงสุดเคยวัดได้ที่อำเภอคลอง ใหญ่จังหวัดตราด สูงถึง 4,764 มิลลิเมตร

ฤดูกาลของประเทศไทย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฤดูกาลในประเทศไทย คือ อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียง
ใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อุณหภูมิและปริมาณฝนในแต่ละภูมิภาคมีความ
แตกต่างกัน จึงแบ่งฤดูกาลของประเทศไทยออกเป็น 3 ฤดูกาล ดังนี้
1. ฤดูฝน เป็นฤดูกาลที่มีช่วงเวลายาวนานกว่าฤดูอื่นๆ (พฤษภาคม – กันยายน) โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน มีฝนตกชุกที่สุด ทั้งนี้ เพราะ
     - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน นำความชุ่มชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทยทำให้เกิดฝนตกทั่วทุกภาค
     - ลมพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ พัดผ่านเข้าสู่ประเทศไทยบางพื้นที่ทำ ให้เกิดฝนตกหนัก โดยเฉพาะในช่วงเดือนกันยายน
2. ฤดูหนาว (ตุลาคม – กุมภาพันธ์) เกิดจากอิทธิพลของลมมรสุตะวันออกเฉียงเหนือจากตอนบนของประเทศ จีน พัดพาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งมาสู่ประเทศไทย พื้นที่ภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นมากกว่าทุกภาค เนื่องจากภูมิประเทศเป็น ภูเขาสูงและได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือโดยตรงมากกว่าภาค อื่นๆ
3. ฤดูร้อน (มีนาคม – เมษายน) เป็นช่วงที่อากาศร้อนจัด มีอุณหภูมิและโดยปกติจะมี มีฝนทั้งนี้เพราะ
   - ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังลงอุณหภูมิจึงสูงขึ้นไม่มีฝน
   - ดวงอาทิตย์ส่องแสงตั้งฉากกับประเทศไทยมากที่สุด ทำให้มีอุณหภูมิสูง โดยเฉพาะใน
     เดือนเมษายน
   - ในช่วงฤดูร้อน อาจจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองได้ (พายุนี้จะทำให้ฝนตกหนักมากๆ แต่ตกเพียงแป๊บเดียวก็หยุด)
สภาพภูมิอากาศของภาคใต้มี ลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นๆ คือมีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝนกับฤดูร้อน (ไม่มีฤดูหนาว) เนื่องจากไม่มีเดือนใดที่มี อุณหภูมิของอากาศต่ำหรือสูงจนเรียกว่าเป็นฤดูหนาวหรือฤดูร้อนได้

ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย

ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย


ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต  ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ  เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่  คือ  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม  ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ  ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ  เช่น  สัตว์ป่า  ดิน  น้ำ  อากาศ  ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย  จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย  เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว  พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม  เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป  นอก จากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำ ลำธารทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย  ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม  เช่น  การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้ทำนาไม่ได้ผลขาดน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า
                ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน  ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน  สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
 ก.  ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ  (Evergreen)
 ข.  ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)

ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)
ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี  เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ  ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภท  นี้  ได้แก่
        1.  ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด  ได้แก่  ภาคใต้และภาคตะวันออก  ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น  ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ  เช่น  ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร  ห้วย  แหล่งน้ำ และบนภูเขา  ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ  ดังนี้

            1.ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest) เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร  จากระดับน้ำทะเล  ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ  เช่น  ยางนา  ยางเสียน  ส่วนไม้ชั้นรอง คือ  พวกไม้กอ  เช่น  กอน้ำ  กอเดือย
            1.2  ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย  เช่น  ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร  ไม้ที่สำคัญได้แก่  มะคาโมง  ยางนา  พยอม  ตะเคียนแดง  กระเบากลัก และตาเสือ
 
            1.3  ป่าดิบเขา (Hill  Evergreen Forest)
        ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร  ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล  ไม้ส่วนมากเป็นพวก   Gymonosperm  ได้แก่  พวกไม้ขุนและสนสามพันปี  นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่  พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมา  ได้แก่  เป้ง  สะเดาช้าง และขมิ้นต้น
 
   2.  ป่าสนเขา (Pine Forest)

ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร  ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ  ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร  จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้  ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง  ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ  ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา  เช่น  กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  เป็นต้น

            3.  ป่าชายเลน (Mangrove Forest)
บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็มหรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ  ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ  ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน  ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ  อำเภอลุง  จังหวัดจันทบุรี
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน  ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง  ประสัก  ถั่วขาว  ถั่วขำ  โปรง  ตะบูน  แสมทะเล  ลำพูนและลำแพน  ฯลฯ  ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก  ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ  ปอทะเล และเป้ง  เป็นต้น

            4.  ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest)
ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมาก ๆ  ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง  มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ  เช่น  ครอเทียน  สนุ่น  จิก  โมกบ้าน  หวายน้ำ  หวายโปร่ง  ระกำ  อ้อ และแขม  ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท  ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกัน  เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่ มีต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ดอีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ  มากชนิดขึ้นปะปนกันชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ  ได้แก่  อินทนิล  น้ำหว้า  จิก  โสกน้ำ  กระทุ่มน้ำภันเกรา  โงงงันกะทั่งหัน  ไม้พื้นล่างประกอบด้วย  หวาย  ตะค้าทอง  หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ
5.  ป่าชายหาด (Beach Forest)
เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล  น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล  ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล  ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ  ใบหนาแข็ง  ได้แก่  สนทะเล  หูกวาง  โพธิ์ทะเล  กระทิง  ตีนเป็ดทะเล  หยีน้ำ  มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง  ตามฝั่งดินและชายเขา  มักพบไม้เกตลำบิด  มะคาแต้  กระบองเพชร  เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ  เช่น  ซิงซี่  หนามหัน  กำจาย  มะดันขอ  เป็นต้น
ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)

ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น
  ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้  ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ  ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้  ได้แก่
  1.  ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest)
ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ  ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย  ป่าเบญจพรรณ  ในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี  ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก  มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย  พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่  สัก  ประดู่แดง  มะค่าโมง  ตะแบก  เสลา  อ้อยช้าง  ส้าน  ยม  หอม  ยมหิน  มะเกลือ  สมพง  เก็ดดำ  เก็ดแดง  ฯลฯ  นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ  เช่น  ไผ่ป่า  ไผ่บง  ไผ่ซาง  ไผ่รวก  ไผ่ไร  เป็นต้น

 2.  ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)
หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง  ป่าแพะ  ป่าโคก  ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง  ตามพื้นป่ามักจะมีโจด  ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก  พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด  ลูกรัง  พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา  ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด  ตามเนินเขาหรือที่ราบดินทรายชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง  ได้แก่  เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  กราด  พะยอม  ติ้ว  แต้ว  มะค่าแต  ประดู่  แดง  สมอไทย  ตะแบก  เลือดแสลงใจ  รกฟ้า  ฯลฯ  ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก  ได้แก่  มะพร้าวเต่า  ปุ่มแป้ง  หญ้าเพ็ก  โจด  ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ
  3.  ป่าหญ้า (Savannas Forest)
ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง  หญ้าชนิดต่าง ๆ  จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย  พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี  พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ  หญ้าคา  หญ้าขนตาช้าง  หญ้าโขมง  หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง  บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้าได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่  เช่น  ตับเต่า  รกฟ้าตานเหลือ  ติ้วและแต้ว

ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้

    ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ได้แก่.
      ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits)
ได้แก่  ปัจจัย 4 ประการ
1.  จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เช่น  เฟอร์นิเจอร์  กระดาษ  ไม้ขีดไฟ  ฟืน  เป็นต้น
2.  ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล
3.  ใช้เส้นใย  ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ  เป็นเครื่องนุ่งห่ม  เชือกและอื่น ๆ
4.  ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ
      ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)
1.  ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดินกลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ  ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
2.  ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ  ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช  ซึ่ง เกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำ ลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา  ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ  ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
3.  ป่าไม้ เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็น แหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี  นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก  จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้
4.  ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่  ๑๑-๔๔  %  ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด  จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
5.  ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน  จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ  ไม่ตื้นเขินอีกด้วย  นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ  จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน

สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย

    1.  การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
 ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้  เจ้าของโรงเลื่อย  เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้  ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป  ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย  ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร  ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด  ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น  เช่น  ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม  เป็นต้น
 2.  การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน  เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น  ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้  แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย  นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป
               3.  การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น  มันสำปะหลัง  ปอ  เป็นต้น  โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร
 
               4.  การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่ ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา  ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
     
               5.  การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น  เขื่อน  อ่างเก็บน้ำ  เส้นทางคมนาคม  การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์  ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย  เช่น  การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี  ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่  ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง
               6.  ไฟไหม้ป่ามักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง  ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด  ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ  จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวนมาก
               7.  การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง  เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้าง             ถนน หนทาง  การระเบิดหน้าดิน  เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ  ส่งผลถึงการทำลายป่า
การอนุรักษ์ป่าไม้

    ป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมาก  จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลกรวมทั้งความสมดุลในแง่อื่นด้วย  ดังนั้น  การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการเร่งด่วน  ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและ   ประชาชน  ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้  ดังนี้
    1.  นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้
    2.  นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ
    3.  นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น
    4.  นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้  เช่น  การทำไม้และการเก็บหาของป่า  การปลูก และการบำรุงป่าไม้  การค้นคว้าวิจัย และด้านการอุตสาหกรรม
    5.  นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์  ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสาน                                              ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

การจัดการป่าเศรษฐกิจ
           มีกิจกรรมหลายอย่างที่จะดำเนินการในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ  ได้แก่
1.  การพัฒนาป่าธรรมชาติในพื้นที่ ๆ  ยังมีป่าธรรมชาติปกคลุมสามารถวางโครงการทำป่าไม้ต่าง ๆ  และป่าไม้ชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและการใช้สอยในครัวเรือนของราษฎรได้
2.  การพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ ๆ  ว่างเปล่าสามารถพัฒนาโดยให้รัฐและเอกชนทำการปลูกป่าในพื้นที่ ๆ ว่างเปล่า  เพื่อผลิตไม้ในภาคอุตสาหกรรมและใช้สอยในครัวเรือน
3.  การพัฒนาตามหลักศาสตร์ชุมชนใช้พื้นที่ป่าเศรษฐกิจในโครงการพระราชดำริโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงโครงการหมู่บ้านป่าไม้และโครงการ  สกท.
4.       การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ  ใช้พื้นที่เขตป่าเศรษฐกิจดำเนินงานในกิจกรรมเหมืองแร่ระเบิดหินย่อย และขอใช้ประโยชน์อื่น ๆ

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

1. แผนที่
แผนที่เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ เพราะครอบคลุมทั้งลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจากฝีมือของมนุษย์บนพื้นผิวโลกด้วยการจัดทำแผนที่ใน ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการขึ้นเป็นลำดับ มีการนำเอารูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมมาช่วยในการทำแผนที่ทำให้สามารถ สร้างแผนที่ได้รวดเร็ว มีความถูกต้องและทันสมัยกว่าในอดีต
2.ลูกโลก

องค์ประกอบของลูกโลก องค์ประกอบหลักของลูกโลกจะประกอบไปด้วย

1. เส้นเมริเดียนหรือเส้นแวง เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปจดขั้วโลกใต้ ซึ่งกำหนดค่าเป็น 0 องศา ที่เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ
2. เส้นขนาน หรือเส้นรุ้ง เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ทุกเส้นจะขนานกับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุมเท่ากับ 0 องศา

การใช้ลูกโลก ลูกโลกใช้ประกอบการอธิบายตำแหน่งหรือสถานที่ของจุดพื้นที่ของส่วนต่าง ๆ ของโลก โดยประมาณ
3.เข็มทิศ

เข็มทิศเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการหาทิศของจุดหรือวัตถุ โดยมีหน่วยวัดเป็นองศา เปรียบเทียบกับจุดเริ่มต้น เข็มทิศใช้ในการหาทิศโดยอาศัยแรงดึงดูดระหว่างสนามแม่เหล็กขั้วโลก (Magnetic Pole) กับเข็มแม่เหล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของเครื่องมือนี้ เข็มแม่เหล็กจะแกว่งไกวได้โดยอิสระในแนวนอน เพื่อให้แนวเข็มชี้อยู่ในแนวเหนือใต้ ไปยังขั้วแม่เหล็กโลกตลอดเวลา หน้าปัดเข็มทิศซึ่งคล้ายกับหน้าปัดนาฬิกาจะมีการแบ่งโดยรอบเป็น 360 องศา ซึ่งเข็มทิศมีประโยชน์ในการเดินทาง เช่น การเดินเรือทะเล เครื่องบิน การใช้เข็มทิศจะต้องมีแผนที่ประกอบและต้องหาทิศเหนือก่อนเพื่อจะได้รู้ทิศ อื่น

4.รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม

รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมเป็นรูปหรือข้อมูลตัวเลขที่ได้จาการเก็บ ข้อมูล ภาคพื้นดินจากกล้องที่ติดอยู่กับพาหนะ เช่น เครื่องบิน หรือดาวเทียม โดยมีการบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดหรือหยาบในเวลาแตกต่างกัน จึงทำให้เห็นภาพรวมของการใช้พื้นที่และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ตามที่ปรากฎบนพื้นผิวโลก เช่น การเกิดอุทกภัย ไฟป่า การเปลี่ยนแปลง การใช้ที่ดิน การก่อสร้างสถานที่ เป็นต้น

ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ที่นิยมใช้กันมากจะเป็นรูปหรือภาพถ่ายที่ได้จากการสะท้อนคลื่นแสงของดวง อาทิตย์ขึ้นไปสู่เครื่องบันทึกที่ติดอยู่บนเครื่องบินหรือดาวเทียม การบันทึกข้อมูลอาจจะทำโดยใช้ฟิลม์ เช่น รูปถ่ายทางอากาศสีขาว – ดำ หรือรูปถ่ายทางอากาศสีธรรมชาติ การบันทึกข้อมูลจากดาวเทียมจะใช้สัญญาณเป็นตัวเลขแล้วจึงแปลงค่าตัวเลขเป็น ภาพจากดาวเทียมภายหลัง

การใช้รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกหัดเพื่อแปลความหมายของข้อมูล การแปลความหมายอาจจะใช้การแปลด้วยสายตาตามความสามารถของแต่ละบุคคลหรือใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเข้ามาช่วย
5.  เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์

ในโลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนมาก เทคโนโลยีจึงเข้ามามีความสำคัญ และจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต เทคโนโลยีที่สำคัญด้านภูมิศาสตร์ คือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือ GIS (Geographic Information System) และระบบกำหนดตำแหน่งพื้นผิวโลก หรือ (GPS (Global Positioning System) เครื่องมือทั้งสองจะประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ (Hard ware) ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ และโปรแกรมหรือซอฟแวร์ (Software)

1) ประโยชน์ของเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ จะคล้ายกับการใช้ประโยชน์จากแผนที่สภาพภูมิประเทศและแผนที่เฉพาะเรื่อง เช่น จะให้คำตอบว่า ถ้าจะต้องเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในแผนที่จะมีระยะทางเท่าใด และถ้าทราบความเร็วของรถจะทราบได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าใด

หลังจากการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ การจัดหมวดหมู่ของข้อมูลตามความต้องการที่จะนำไปวิเคราะห์การคัดเลือกตัวแปร หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยและการซ้อนทับข้อมูล ตัวอย่างเช่น ต้องการหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ เหมาะสมดี เหมาะสมปานกลาง และไม่เหมาะสม โดยคัดเลือกข้อมูล 2 ประเภท คือ ดินและสภาพภูมิประเทศ

2) การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกฝนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ

6.แหล่งข้อมูลสารสนเทศของไทย

ปัจจุบันได้มีการคิดค้นและพัฒนาการข้อมูลสารเทศอย่างรวดเร็วและได้เผยแพร่ ข้อมูลสู่สาธารณชนมาก โดยเฉพาะการนำข้อมูลเข้าเว็บไซด์ให้ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปเข้าไปดูข้อมูล ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล แต่ข้อมูลบางชนิดอาจต้องติดต่อจากหน่วยงานนั้น ๆ โดยตรง ทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่น ข้อมูลด้านสถิติ (www.nso.go.th) ข้อมูลประชากร (www.dola.go.th) ข้อมูลดาวเทียม (www.gistda.go.th) ข้อมูลดินและการใช้ที่ดิน (www.dld.go.th) เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใช้ประกอบการศึกษา และการเก็บข้อมูลเครื่องมือบางชนิดเหมาะสำหรับใช้ในห้องเรียน หรือห้องปฏิบัติการ เครื่องมือบางชนิดใช้ได้สำหรับในห้องเรียนและในนาม ผู้ใช้จะได้รู้ว่าเมื่อใดควรใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ในห้องเรียนและเมื่อใด ควรใช้ในภาคสนาม เครื่องมือบางชนิดจะมีความซับซ้อนมาก หรือต้องใช้ร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันคือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งแปลงสารสนเทศที่เกี่ยวกับพื้นที่ และข้อมูลตารางหรือคำอธิบายที่ให้เป็นข้อมูลเชิงตัวเลขทำให้การจัดเก็บเรียก ดูข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขและการวิเคราะห์เป็นไปอย่างรวดเร็ว และถูกต้องและแสดงผลในรูปแบบแผนที่ กราฟ หรือตารางได้อย่างถูกต้องอีกด้วย ส่วนระบบ กำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GIS) ใช้กำหนดจุดพิกัดตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ บนผิวโลก โดยอาศัยสัญญาณจากดาวเทียมหลายดวงที่โคจรอยู่รอบโลก

ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย

ประเทศไทย

ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ถ้าเปรียบเทียบขนาดของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดัวยกันแล้ว จะมีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สาม รองจากอินโดนีเซียและพม่า ความยาวของประเทศวัดจาก เหนือสุด ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายไปจดใต้สุดที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ประมาณ 1,260 กิโลเมตร ส่วนความกว้างมากที่สุด วัดจากด่านพระเจดีย์สามองค์อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีไปจดตะวันออกสุด ที่อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ยาวประมาณ 780 กิโลเมตร สำหรับส่วนที่แคบที่สุดของประเทศไทยอยู่ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วัดจากพรมแดนพม่าถึงฝั่งทะเลอ่าวไทยเป็นระยะทางประมาณ 10.5 กิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ 4 ประเทศคือ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซียรวมความยาวของพรมแดนทางบก ประมาณ 5,300 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับชายฝั่งทะเลยาว 2,705 กิโลเมตร คือ แนวฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยยาว 1,840 กิโลเมตร และแนวชายฝั่งด้านทะเลอันดามันยาว 865 กิโลเมตร เขตแดนที่ติดต่อกับพม่า เริ่มต้นที่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงรายไปทางตะวันตก และวกลงทางใต้ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปสิ้นสุดที่จังหวัดระนอง จังหวัดชายแดนด้านนี้มี 10 จังหวัดคือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และ ระนอง มีทิวเขา 3 แนว เป็นเส้นกั้นพรมแดน ได้แก่ ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำสายสั้น ๆ เป็นแนวกั้นพรมแดนอยู่อีกคือแม่น้ำเมย จังหวัดตากและแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนองเขตแดนที่ติดต่อกับลาว เขตแดนด้านนี้ เริ่มต้นที่ในอำเภอเชียงแสน ไปทางตะวันออกและวกลงทางใต้ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายเข้าสู่จังหวัดพะเยา ไปสิ้นสุดที่จังหวัดอุบลราชธานี ดินแดนที่ติดต่อกับลาวมี 11 จังหวัดคือ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนทางน้ำที่สำคัญ ส่วนพรมแดนทางบกมีทิวเขาหลวงพระบางกั้นทางตอนบนและทิวเขาพนมดงรักบางส่วน กั้นเขตแดนตอนล่าง เขตแดนที่ติดต่อกับกัมพูชา เริ่มต้นที่พื้นที่บางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จากอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มาทางทิศตะวันตก แล้ววกลงใต้ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ไปสิ้นสุดที่จังหวัดตราด จังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับกัมพูชา มี 7 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกศ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และ ตราดมีทิวเขาพนมดงรักและทิวเขาบรรทัดเป็นเส้นกั้นพรมแดน เขตแดนที่ติดต่อกับมาเลเซีย ได้แก่ เขตแดนทางใต้สุดของประเทศ ในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส มีแนวเทือกเขาสันกาลาคีรี และแม่น้ำโก-ลกจังหวัดนราธิวาสเป็นเส้นกั้นพรมแดน

ภาคเหนือ
ภาคเหนือประกอบด้วยพื้นที่ของ 9 จังหวัด ได้แก่ 1. เชียงราย 2. แม่ฮ่องสอน 3. พะเยา 4. เชียงใหม่ 5. น่าน 6. ลำพูน 7. ลำปาง 8. แพร่ 9. อุตรดิตถ์

ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป เป็นเทือกเขาสูงทอดยาวขนานกันในแนวเหนือ-ใต้ และระหว่างเทือเขาเหล่านี้มีที่ราบและมีหุบเขาสลับอยู่ทั่วไปเทือกเขาที่ สำคัญ คือ เทือกเขาหลวงพระบาง เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเขาขุนตาลและ เทือกเขาเพชรบูรณ์ ยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคนี้ ได้แก่ ยอดอินทนน์ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงประมาณ 2,595 เมตร เทือกเขาในภาคเหนือเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายยาว 4 สาย ได้แก่ แม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน แม่น้ำดังกล่าวนี้ไหลผ่านเขตที่ราบหุบเขา พื้นที่ทั้งสองฝั่งลำน้ำจึงมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้มีผู้คนอพยพไปตั้งหลักแหล่งในบริเวณดังกล่าวหนาแน่นนอกจากนี้ภาคเหนือ ยังมีแม่น้ำสายสั้น ๆ อีกหลายสาย ได้แก่แม่น้ำกก และแม่น้ำอิง ซึ่งไหลลงสู่ แม่น้ำโขง แม่น้ำปาย แม่น้ำเมย และแม่น้ำยวม ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน

ภาคกลาง

ภาคกลางประกอบด้วยพื้นที่ของ 22 จังหวัด ได้แก่ 1. สุโขทัย 2. พิษณุโลก 3. กำแพงเพชร 4. พิจิตร 5. เพชรบูรณ์(ภาคกลางตอนบน) 6. นครสวรรค์ 7. อุทัยธานี 8. ชัยนาท 9. ลพบุรี 10. สิงห์บุรี 11. อ่างทอง 12. สระบุรี 13. สุพรรณบุรี 14. พระนครศรีอยุธยา 15. นครนายก 16. ปทุมธานี 17. นนทบุรี 18. นครปฐม 19. กรุงเทพมหานคร 20. สมุทรปราการ 21. สมุทรสาคร 22. สมุทรสงคราม

ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป เป็นที่ราบดินตะกอนที่ลำน้ำพัดมาทับถม ในบริเวณที่ราบนี้มีภูเขาโดดๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูนกระจาย อยู่ทั่วไป ภูมิประเทศตอนบนของภาคกลางเป็นที่ราบลูกฟูก คือเป็นที่สูงๆต่ำๆ และมีภูเขาที่มีแนวต่อเนื่องจากภาคเหนือ เข้ามาถึงพื้นที่บางส่วนของจังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ส่วนพื้นที่ตอนล่างของภาคกลางนั้นเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน นอกจากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วตอนล่างของภาคกลางยังมีแม่น้ำไหลผ่านอีกหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำนครนายก เขตนี้เป็นที่ราบกว้างขวางซึ่งเกิดจากดินตะกอน หรือดินเหนียวที่แม่น้ำพัดพามาทับถมเป็นเวลานาน จึงเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกมาก และเป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย ฉะนั้นภาคกลางจึงได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าว อู่น้ำของไทย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยพื้นที่ของ 19 จังหวัด ได้แก่ 1. เลย 2. หนองคาย 3. อุดรธานี 4. สกลนคร 5. นครพนม 6. ขอนแก่น 7. กาฬสินธุ์ 8. มุกดาหาร 9. ชัยภูมิ 10. มหาสารคาม 11. ร้อยเอ็ด 12. ยโสธร 13. นครราชสีมา 14. บุรีรัมย์ 15. สุรินทร์ 16. ศรีสะเกศ 17. อุบลราชธานี 18. อำนาจเจริญ 19. หนองบัวลำภู

ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป มีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายจาน ลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงใต้มีขอบเป็นภูเขาสูงทางตะวันตกและทางใต้ขอบทาง ตะวันตก ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็น ส่วนทางใต้ ได้แก่ เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก พื้นที่ด้านตะวันตกเป็นที่ราบสูง เรียกว่า ที่ราบสูงโคราช ภูเขาบริเวณนี้เป็นภูเขาหินทราย ที่รู้จักกันดีเพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยว คือ ภูกระดึง ภูหลวง ในจังหวัดเลย แม่น้ำที่สำคัญของภาคนี้ได้แก่ แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากเทือกเขาทางทิศตะวันตก และทางใต้แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขง ทำให้สองฝั่งแม่น้ำเกิดเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงเป็นตอนๆ พื้นที่ราบในภาคะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูปแอ่ง* เป็นจำนวนมาก แต่ทะเลสาบเหล่านี้จะมีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้นเมื่อถึงฤดูร้อนน้ำก็จะเหือด แห้งไปหมด เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ น้ำจึงซึม ผ่านได้เร็ว ภาคนี้จึงมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่ เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งมีเนื้อที่ถึงประมาณ 2 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ยโสธร และศรีสะเกศ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้พยายามปรับปรุงพื้นที่ให้ดีขึ้น โดยใช้ระบบชลประทานสมัยใหม่ ทำให้สามารถเพาะปลูกได้จนกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดแห่ง หนึ่งของประเทศไทย แต่ก็ปลูกได้เฉพาะหน้าฝนเท่านั้น หน้าแล้วสามารถทำการเพาะปลูกได้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมบริเวณทั้งหมด

ภาคตะวันตก


ภาคตะวันตก ประกอบด้วยพื้นที่ของ 5 จังหวัด ได้แก่ 1. ตาก 2. กาญจนบุรี 3. ราชบุรี 4. เพชรบุรี 5. ประจวบคีรีขันธ์
ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง ได้แก่ เทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวภูเขาที่ซับซ้อนมีที่ราบแคบๆ ในเขตหุบเขาเป็นแห่ง ๆ และมีที่ราบเชิงเขาต่อเนื่องกับที่ราบภาคกลางเทือกเขาเหล่านี้เป็นแหล่ง กำเนิดของ แม่น้ำแควน้อย (แม่น้ำไทรโยค) และแม่น้ำแควใหญ่ (ศรีสวัสดิ์) ซึ่งไหลมาบรรจบกัน เป็นแม่น้ำแม่กลองระหว่างแนวเขามีช่องทางติดต่อกับพม่าได้ ที่สำคัญคือ ด่านแม่ละเมาในจังหวัดตาก และด่านพระเจดีย์สามองค์ ในจังหวัดกาญจนบุรี

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันออก ประกอบด้วยพื้นที่ของ 7 จังหวัดได้แก่ 1. ปราจีนบุรี 2. ฉะเชิงเทรา 3. ชลบุรี 4. ระยอง 5. จันทบุรี 6. ตราด 7. สระแก้ว
ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป คือมีที่ราบใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของภาค มีเทือกเขาจันทบุรีอยู่ทางตอนกลางของภาคมีเมือกเขาบรรทัดอยู่ทางตะวันออก เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา และมีที่ราบชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาจันทบุรีกับอ่าวไทย ถึงแม้จะเป็นราบแคบ ๆ แต่ก็เป็นพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการปลูกไม้ผล ในภาคนี้มีจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้วเป็นจังหวัดที่ไม่มีอาณาเขตจด ทะเล นอกนั้นทุกจังหวัดล้วนมีทางออกทะเลทั้งสิ้น ชายฝั่งทะเลของภาคนี้ เริ่มจากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทราไปถึงแหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด ยาวประมาณ 505 กิโลเมตร เขตพื้นที่ชายฝั่งของภาคนี้มีแหลมและอ่าวอยู่เป็นจำนวนมากและมีเกาะใหญ่น้อย เรียงรายอยู่ไม่ห่างจากฝั่งนัก เช่น เกาะช้าง เกาะกูด เกาะสีชัง เกาะล้านเป็นต้น

ภาคใต้

ภาคใต้ประกอบด้วยพื้นที่ของ 14 จังหวัดได้แก่ 1. ชุมพร 2. สุราษฎร์ธานี 3. นครศรีธรรมราช 4. พัทลุง 5. สงขลา 6. ปัตตานี 7. ยะลา 8. นราธิวาส 9. ระนอง 10. พังงา 11.กระบี่ 12. ภูเก็ต 13. ตรัง 14. สตูล
ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป เป็นคาบสมุทรยื่นไปในทะเล ทางตะวันตกของคาบสมุทรมีเทือกเขาภูเก็ตทอดตัวเลียบชายฝั่งไปจนถึงเกาะภูเก็ต ตอนกลางของภาคมีเทือกเขานครศรีธรรมราช ส่วนทางตอนใต้สุดของภาคใต้มีเทือกเขาสันกาลาคีรี วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก และเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างไทยกับมาเลเซียด้วยพื้นที่ทางชายฝั่งตะวัน ออกมีที่ราบมากกว่าชายฝั่งตะวันตก ได้แก่ ที่ราบในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้มีชาดหาดเหมาะสำหรับเป็นที่ตากอากาศหลาย แห่ง เช่น หาดสมิหลา จังหวัดสงขลาและหาดนราทัศน์ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น เกาะที่สำคัญทางด้านนี้ ได้แก่ เกาะสมุยและเกาะพงัน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย มีเกาะที่สำคัญคือ เกาะภูเก็ต เกาะตรุเตา เกาะยาวและเกาะลันตานอกจากนี้ ในเขตจังหวัดสงขลาและพัทลุงยังมีทะเลสาบเปิด (lagoon) ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ทะเลสาบสงขลา มีความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุด ประมาณ 20 กิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 974 ตารางกิโลเมตร ส่วนเหนือสุดของทะเลสาบเป็นแหล่งน้ำจืดเรียกว่า ทะเลน้อย แต่ทางส่วนล่างน้ำของทะเลสาบจะเค็ม เพราะมีน่านน้ำติดกับอ่าวไทย น้ำทะเลจึงไหลเข้ามาได้ ในทะเลสาบสงขลามีเกาะอยู่หลายเกาะ บางเกาะเป็นที่ทำรังของนกนางแอ่น บางเกาะเป็นที่อยู่ของเต่าทะเลนอกจากนี้ในทะเลสาบยังมี ปลา และกุ้งชุกชุมอีกด้วยส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้มีลักษณะเว้าแหว่ง มากกว่าด้านตะวันออก ทำให้มีทิวทัศน์ที่สวยงามหลายแห่ง เช่น หาดนพรัตน์ธารา จังหวัดกระบี่ หมู่เกาะซิมิลัน จังหวัดพังงา ชายฝั่งตะวันตกของภาคใต้จึงเป็น

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ แม่น้ำในภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ไหลจากเทือกเขาลงสู่ทะเล ที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำโก-ลกซึ่งกั้นพรมแดนไทยกับมาเลเซียในจังหวัดนราธิวาส แม่น้ำ กระบุรีซึ่งกั้นพรมแดนไทยกับพม่าในเขตจังหวัดระนอง แม่น้ำตาปีในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และแม่น้ำปัตตานีในจังหวัดยะลาและปัตตานี