วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย

ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศไทย

1. ที่ตั้งตามละติจูด เราอยู่เขตละติจูดที่ใกล้เส้นศูนย์สูตร -> อากาศร้อน
2. ความสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงยิ่งหนาว สูงทุกๆ 180 เมตร อุณหภูมิลดลง 1 องศา เซลเซียส
3. การขวางกั้นของภูเขา ทำให้เกิดเขตเงาฝน (Rain Shadow) บริเวณหลังเขาอากาศจะอบอ้าว
     และแห้งแล้ง
4. ความใกล้ – ไกลทะเล
    - พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล ความแตกต่างระหว่างร้อนกับหนาวมีน้อย (ร้อนก็ร้อนไม่มาก หนาวก็หนาว
      ไม่มาก)
5. ทิศทางของลมประจำ ได้แก่
    - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นำพาความชื้นและฝนมาตก เพราะพัดมาจากมหาสมุทร
      (มหาสมุทรอินเดีย)
     - ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นำพาความหนาวเย็นและแห้งแล้งมาให้ เพราะพัดมาจากแผ่นดิน   
       (จีน)
6. อิทธิพลของพายุหมุน
    - พายุ = ลมที่พัดแรงมาก (แรงกว่าลมมรสุม)
    - พายุหมุน เกิดที่ทะเลจีนใต้ แล้วพัดเข้าสู่ประเทศไทยทางทิศตะวันออก แต่ เจอภาคตะวันออกเฉียง 
      เหนือก่อน (เพราะมีพื้นที่ล้ำออกมาทางตะวันออกที่สุด)
    - พายุหมุนที่แรงที่สุด คือ ไต้ฝุ่น
    - แต่ที่พัดเข้ามาสู่ประเทศไทยบ่อยๆ ลดกำลังเป็นดีเปรสชัน (ซึ่งเป็นพายุหมุนที่เบาที่สุด) เนื่องจาก  
      ผ่านแผ่นดินเวียดนามและลาวก่อนมา เจอไทยไต้ฝุ่น จึงอ่อนกำลังแรงลงเป็นดีเปรสชัน

ปริมาณฝนในประเทศไทย

1. ประเทศไทยมีปริมาณฝนปานกลางถึงค่อนข้างชุก เฉลี่ยทั่วประเทศ 1,550 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนใหญ่เกิดจากอิ่ทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่มีบาง พื้นที่ได้รับอิทธิพลของลมพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ด้วย
2. พื้นที่ของประเทศที่มีฝนตกมากที่สุด คือ
    2.1 ชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ (ด้านทะเลอันดามัน) บริเวณด้านหน้าของเทือกเขาภูเก็ต โดยเฉพาะพื้นที่ จังหวัดระนอง (สูงสุดเคยวัดได้ 4,320 มิลลิเมตร)
    2.2 ชายฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย บริเวณด้านหน้าของเทือกเขาจันทบุรี และเทือกเขา บรรทัด ในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและตราด สูงสุดเคยวัดได้ที่อำเภอคลอง ใหญ่จังหวัดตราด สูงถึง 4,764 มิลลิเมตร

ฤดูกาลของประเทศไทย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฤดูกาลในประเทศไทย คือ อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียง
ใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อุณหภูมิและปริมาณฝนในแต่ละภูมิภาคมีความ
แตกต่างกัน จึงแบ่งฤดูกาลของประเทศไทยออกเป็น 3 ฤดูกาล ดังนี้
1. ฤดูฝน เป็นฤดูกาลที่มีช่วงเวลายาวนานกว่าฤดูอื่นๆ (พฤษภาคม – กันยายน) โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน มีฝนตกชุกที่สุด ทั้งนี้ เพราะ
     - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน นำความชุ่มชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทยทำให้เกิดฝนตกทั่วทุกภาค
     - ลมพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ พัดผ่านเข้าสู่ประเทศไทยบางพื้นที่ทำ ให้เกิดฝนตกหนัก โดยเฉพาะในช่วงเดือนกันยายน
2. ฤดูหนาว (ตุลาคม – กุมภาพันธ์) เกิดจากอิทธิพลของลมมรสุตะวันออกเฉียงเหนือจากตอนบนของประเทศ จีน พัดพาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งมาสู่ประเทศไทย พื้นที่ภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นมากกว่าทุกภาค เนื่องจากภูมิประเทศเป็น ภูเขาสูงและได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือโดยตรงมากกว่าภาค อื่นๆ
3. ฤดูร้อน (มีนาคม – เมษายน) เป็นช่วงที่อากาศร้อนจัด มีอุณหภูมิและโดยปกติจะมี มีฝนทั้งนี้เพราะ
   - ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังลงอุณหภูมิจึงสูงขึ้นไม่มีฝน
   - ดวงอาทิตย์ส่องแสงตั้งฉากกับประเทศไทยมากที่สุด ทำให้มีอุณหภูมิสูง โดยเฉพาะใน
     เดือนเมษายน
   - ในช่วงฤดูร้อน อาจจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองได้ (พายุนี้จะทำให้ฝนตกหนักมากๆ แต่ตกเพียงแป๊บเดียวก็หยุด)
สภาพภูมิอากาศของภาคใต้มี ลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นๆ คือมีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝนกับฤดูร้อน (ไม่มีฤดูหนาว) เนื่องจากไม่มีเดือนใดที่มี อุณหภูมิของอากาศต่ำหรือสูงจนเรียกว่าเป็นฤดูหนาวหรือฤดูร้อนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น